ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรการออกแบบระดับสากลเตรียมพร้อมสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ผสมผสานแนวปฏิบัติด้านศิลปะ และการออกแบบ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีด้านการปฏิสัมพันธ์ นักศึกษาจะรับการฝึกฝนอย่างมืออาชีพ ผ่านกรณีศึกษาจริงในการออกแบบด้านกราฟิกและการออกแบบภาพดิจิทัล ซึ่งนักศึกษาจะสามารถใช้ทักษะ และนำประสบการณ์ในวิชาการด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่สร้างสรรค์ หลักสูตรนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเป็นนักออกแบบที่มีไหวพริบในการสื่อสารด้วยภาพ สู่โอกาสในโลกแห่งความเป็นจริง และการเป็นผู้ประกอบการที่ตอบสนองต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยในยุคดิจิทัล

  • faculty
  • thesis exhibition
  • contest
  • prize and awards
  • events
  • field trip
  • ccd life

Creative Communication Design

หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ในการนำเสนอถึงวิสัยทัศน์ที่สร้างสรรค์  การฝึกฝนทักษะ ซึ่งจะสามารถสื่อสารความคิด ผ่านกระบวนการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบ ธุรกิจ สังคม เทคโนโลยี และวัฒนธรรม เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับนักศึกษา ที่ต้องการสร้างสรรค์งานระดับมืออาชีพ และสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกของการออกแบบการสื่อสารในอนาคต

สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสองแขนงวิชาดังนี้

  1. Digital Imagery – มุ่งเน้นการสำรวจงานออกแบบ และศิลปะด้านภาพเคลื่อนไหว มุ่งเน้นไปการฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ การเล่าเรื่องที่สร้างสรรค์ และเข้าใจการใช้งานเครื่องมือทางเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะเชิงสร้างสรรค์ที่จำเป็นในด้านสร้างภาพสามมิติ งานภาพในภาพยนตร์ แอนิเมชั่น และการออกแบบเกม
  2. Graphic Design – เน้นการปฏิบัติทางศิลปะเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ด้วยงานกราฟิกให้น่าสนใจ และสร้างประสบการณ์ให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ในหลากหลายมิติ

CCD สนับสนุนกระบวนการสร้างสรรค์ ด้วยการเรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง ทั้งผ่านทางกิจกรรม และบทเรียนในการออกแบบ โดยเป็นความร่วมมือจากผู้ประกอบการจากองค์กรชั้นนำต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานในโลกอนาคต และตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคม และวัฒนธรรมร่วมสมัยในยุคดิจิทัล โดยผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่อยู่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของคณะนิเทศศาสตร์ พร้อมที่จะก้าวเป็นมืออาชีพในพื้นที่แห่งการออกแบบสร้างสรรค์

Career Opportu- nities

Career Opportunities

ผู้สำเร็จการศึกษาจาก สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารสร้างสรรค์ จะสามารถรับบทบาทหน้าที่ในการออกแบบ และสร้างสรรค์ สำหรับหน่วยงานด้านการออกแบบขนาดใหญ่ รวมถึงงานด้านเทคโนโลยี สตาร์ทอัพ สถาบันทางวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินกิจการด้านการออกแบบในระดับเบื้องต้น

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชา CCD แขนงการออกแบบดิจิทัลอิมแมเจอรี่ (Digital Imagery Concentration)  จะสามารถทำงานในการสร้างสรรค์งานภาพเคลื่อนไหวทั้ง 2 และ 3 มิติ ในอุตสาหกรรมทางด้านแอนิเมชั่น ภาพยนตร์ วิดีโอเกม และการวงการโฆษณา ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น นักสร้างแอนิเมชั่น นักสร้างแอนิเมชั่นแบบดั้งเดิม  ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักออกแบบตัวละคร  นักสร้างงานสามมิติ  นักวาดสตอรี่บอร์ด ศิลปินแอนิเมชั่น นักออกแบบแนวคิด นักออกภาพแบบกราฟิกเคลื่อนไหว นักสร้างสรรค์งานดิจิทัล ฟิลม์คอมโพสซิเตอร์ นักสร้างสรรค์เอสแอลอาร์ นักออกแบบสิ่งแวดล้อม นักสร้างพื้นผิว

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชา CCD แขนงการออกแบบกราฟิก (Graphic Design Concentration)  จะมีความพร้อมที่จะทำงานในเส้นทางที่หลากหลาย รวมถึงการเปิดสตูดิโอออกแบบของตนเอง หรือทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ เส้นทางอาชีพที่เป็นไปได้ ได้แก่ นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบหนังสื่อและบรรณาธิการ นักออกแบบการสื่อสารการตลาด นักออกแบบระบบอัตลักษณ์องค์กร นักออกแบบสื่อใหม่ และสื่อด้านการมีปฎิสัมพันธ์ นักออกแบบโฆษณานักออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบนิทรรศการ และสภาพแวดล้อม นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ และ นักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ นักออกแบบตัวอักษร โปรดิวเซอร์ ช่างภาพ นักวาดภาพประกอบ ช่างพิมพ์สำหรับงานภาพพิมพ์

Learning Experience

ปีที่ 1

เป็นการเริ่มต้นสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งทางด้านศิลปะ และพื้นฐานทางด้านการออกแบบ ให้แก่นักศึกษา รวมทั้งองค์ความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อพัฒนาความสู่ความเป็นเลิศในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีการเรียนรู้ และสำรวจทฤษฎีด้านการออกแบบ เพื่อค้นพบแนวคิดในการสร้างสรรค์ รวมทั้งการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติทางด้านศิลปะและการออกแบบที่หลากหลาย เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบ

ปีที่ 2

เรียนรู้กระบวนการการออกแบบ และเพิ่มเติมประสบการณ์การออกแบบเชิงวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทางด้านการออกแบบ และทักษะการทำงานในระดับเบื้องต้น ให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น รวมถึงการมีส่วนร่วมกับการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ  พร้อมทั้งเรียนรู้องค์ความรู้ที่สำคัญในด้าน มนุษย์ศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม การจัดบริหารจัดการ เพื่อนำมาประยุกต์กับการฝึกฝนในด้านวิชาชีพในการออกแบบการสื่อสาร

ปีที่ 3

เน้นการพัฒนาทักษะในทางวิชาชีพของนักออกแบบการสื่อสารขั้นสูง โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนในสายงานด้าน ทั้งสองแขนง ประกอบด้วย การออกแบบกราฟิก (Graphic Design) หรือ การออกแบบภาพดิจิทัล (Digital Imagery) เพื่อการพัฒนาแนวคิด และทักษะด้านการออกแบบ รวมถึงการเรียนรู้จากกรณีศึกษาต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน รวมทั้งการรับประสบการณ์ในด้านการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการการออกแบบ องค์กร สถาบัน และนักสร้างสรรค์ระดับมืออาชีพ

ปีที่ 4

เป็นการเรียนรู้การพัฒนาโครงการออกแบบและสร้างสรรค์ส่วนบุคคลอย่างอิสระ ภายใต้ความเข้าใจในทฤษฎีต่าง ๆ ที่มาจากความเข้าใจในเงื่อนไขทางด้านธุรกิจ บริบททางสังคม และวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการวิจัยด้านการออกแบบ การพัฒนาผลงาน และการสร้างกลยุทธ์ทางการออกแบบอย่างมืออาชีพ  ซึ่งจะเป็นการพัฒนาบัณฑิต สู่ความเป็นนักออกแบบการสื่อสารสร้างสรรค์ระดับมืออาชีพ

Teaching and Learning Philosophy

หลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการออกแบบสื่อสารสร้างสรรค์ ต้องการนำเสนอแนวทางการศึกษาซึ่งบูรณาการณ์ การเรียนการสอนแบบหลายมิติ โดยส่งเสริมความรู้เชิงทฤษฎีและปฏิบัติที่จำเป็น สำหรับการเป็นนักออกแบบการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จ ควบคู่ไปกับความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ ที่กำลังเติบโต  หลักสูตรมีการปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับ ความเข้าใจและการรับรู้บริบททางสังคม และวัฒนธรรม เพื่อให้นักศึกษาได้พบโอกาสในการออกแบบและสร้างสรรค์ในอนาคต

สาขาวิชาสาขาวิชาการออกแบบสื่อสารสร้างสรรค์ และคณะนิเทศศาสตร์ได้เตรียมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้ง ห้องปฏิบัติการ สำหรับวิชาต่าง ๆ ในแต่ละชั้นปี   โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากวิชาชีพด้านการออกแบบต่าง ๆ ทั้ง           นักสร้างสรรค์ นักออกแบบ นักวิจารณ์ และศิลปิน ทั้งระดับชาติและระดับสากล เข้ามาเยี่ยมเยียนนักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ นอกจากนี้หลักสูตรยังส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมในการประกวดเวทีต่าง ๆ  อีกรวมถึงการจัดการทัศนศึกษานอกสถานที่ ตลอดจนความร่วมมือภายในคณะนิเทศศาสตร์ และภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย

Internship

นักศึกษาจะมีโอกาสฝึกงานในภาคเรียนฤดูร้อน การฝึกงานจะขึ้นอยู่กับการความสนใจเฉพาะของนักศึกษาแต่ละคน กับองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ

Admissions Requirement

  • ใบทรานสคริปต์ 5 เทอม
  • Portfolio หรือ คลิปแนะนำตัว ภาษาไทยหรืออังกฤษ ยาว 3-5 นาที
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่าย
  • ผลสอบ Ielts หรือ toefl ถ้ามี

Frequently asked questions

ถาม: ข้อกำหนดในการรับเข้าเรียนมีอะไรบ้าง?

ตอบ:  นักศึกษาต้องสอบเข้า นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถส่งแฟ้มผลงานหรือวิดีโอแนะนำตัวเป็นเวลา 3 – 5 นาที โปรแกรมจะทำการนัดหมายเพื่อสอบเข้าและสัมภาษณ์

ถาม: IELTS หรือ TOEFL จำเป็นสำหรับการสมัครหรือไม่?

ตอบ: คะแนนไม่บังคับ อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่มีผลคะแนนดีสามารถยกเว้นหลักสูตรภาษาอังกฤษได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ถาม: วิธีการสมัครเข้าร่วมโปรแกรม?

ตอบ:  นักศึกษาสามารถสมัครได้ที่ทั้งสองวิทยาเขตในหัวหมากหรือสุวรรณภูมิ หรือสมัครทางออนไลน์ที่ เว็บไซต์รับสมัครของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

Undergraduate Admission Schedule

 Academic year 1/2024

Information Date
ภาคการศึกษาที่ 1/2024
เปิดรับสมัครรอบแรก
พฤศจิกายน 7, 2023 - มีนาคม 19, 2024
วันสอบรอบแรก
มีนาคม 20, 2024
เปิดรับสมัครรอบสอง
มีนาคม 28 - เมษายน 17, 2024
วันสอบรอบสอง
เมษายน 18 and พฤษภาคม 29, 2024
เปิดภาคการศึกษา
พฤษภาคม 2024
เปิดรับสมัครรอบสาม
มิถุนายน 10 - กรกฏาคม 26, 2024
วันสอบรอบสาม
กรกฏาคม 30, 2024
เปิดภาคการศึกษา
สิงหาคม, 2024
ภาคการศึกษาที่ 2/2024
เปิดรับสมัครรอบแรก
สิงหาคม 7 - กันยายน 23, 2024
วันสอบรอบแรก
กันยายน 25 - พฤศจิกายน 6, 2024
เปิดภาคการศึกษา
พฤศจิกายน, 2024
เปิดรับสมัครรอบสอง
พฤศจิกายน 11 - ธันวาคม 27, 2024
วันสอบรอบสอง
มกราคม 3, 2025
เปิดภาคการศึกษา
มกราคม, 2025

ถาม. มีทุนการศึกษาหรือไม่?

ตอบ ใช่ โปรแกรมนี้มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษา

ถาม มีโอกาสฝึกงานระดับนานาชาติหรือไม่?

ตอบ ใช่ มีโอกาสฝึกงานระดับนานาชาติ การตัดสินใจอนุญาตให้ฝึกงานนั้นขึ้นอยู่กับความสอดคล้องระหว่างความสนใจของนักเรียนกับบริษัทที่รับการฝึกงาน

Albert Laurence School of Communication Arts

Assumption University (Suvarnabhumi Campus)
88 Moo 8 Bang Na-Trad km. 26, Bangsaothong,
Samuthprakarn, Thailand 10570

Albert Laurence School of Communication Arts

Assumption University (Suvarnabhumi Campus)
88 Moo 8 Bang Na-Trad km. 26, Bangsaothong,
Samuthprakarn, Thailand 10570